วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551

Ë พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า Ë

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเกษฎาราชเจ้า เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาเรียม ต่อมาได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ขณะเมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชมารดายังดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเรียม ดำรงพระอิสริยฐานนันดรศักดิ์ของพระองค์จึงเป็น "หม่อนเจ้าทับ" พุทธศักราช ๒๓๔๔ สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกเป็น สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์จึงได้เลื่อนพระอิสริยฐานันดรศักดิ์เป็น "พระองค์เจ้าทับ" เมื่อพระชนมพรรษาครบปีที่จะทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช โปรดให้ทรง ผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับจำพรรษษ ณ วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่
พุทธศํกราช ๒๓๕๖ พระชนมพรรษา ๒๖ พรรษา ได้รับการสถาปนาขึ้นทรงกรระนามพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงไว้วางพระราชหฤทัย โปรดให้กำกับราชการหลายกรม ได้แก่ กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกาซึ่งในสมัยนั้นเป็นราชการที่สำคัญมาก นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณด้วย พระองค์ทรงรับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี มีความรักชาติบ้านเมืองสูง และทรงพระเมตตาต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างยิ่ง ในยามที่แผ่นดินขาดแคลนทรงนำเงินส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภากับนานาประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เป็นมูลเหตุให้ทรงได้รับการตรัสล้อ เรียกว่า "เจ้าสัว" น้ำพระราชหฤทัยฝักใฝ่การบุญ ทรงตั้งโรงทานเลี้ยงดูเกื้อกูลประชาชนที่ขัดสน บริเวณหน้าวังท่าพระ อันเป็นที่ประทับขณะนั้น

พุทธศักราช ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตโดยมิได้ตรัสมอบการสืบราชสันตติวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ประชุมปรึกษา และมีสมานฉันท์ให้เชิญพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองศิริราชสมบัติ พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ตลอดรัชสมัยได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่ชาติอเนกอนันต์ทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงของประเทศเศรษฐกิจการค้า การต่างประเทศ การพระศาสนา วรรณกรรมและศิลปกรรม สิ่งสำคัญที่แสดงถึงความรักประชาชนคือ โปรดให้ปราบฝิ่นที่มีแพร่หลายในรัชกาลอย่างเด็ดขาด ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา ๒๗ ปี เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก เมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ สิริรวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา ๒ วัน ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดารวม ๕๑ พระองค์ สายราชตระกูลที่สืบทอดมา ได้แก่ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา ชมพูนุท
ในเรื่องการพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาเสื่อมใสบริสุทธิ์สูงยิ่ง ได้สถาปนาวัด บูรณปฎิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างพระพุทธปฎิมากร ประดิษฐ์วิชาการในพระอาราม สร้างพระคัมภีร์ และที่สำคัญคือ ทำนุบำรุงกุลบุตรให้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา ผู้ที่บรรพชาอุปสมบท ทรงส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน มีพระราชดำรัสยกย่องพระภิกษุที่ศึกษาพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา สะท้อนน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นบำรุงให้รุ่งเรืองไว้ในแผ่นดินดังนี้

"เจ้าประคุณพระราชาคณะทั้งปวง จะไม่ร้อนรนพระทัย แสวงหาพระสงฆ์สามเณรที่รู้พระไตรปิฎกนั้นไม่ชอบ ด้วยพระพุทธศาสนาเป็นแก้วอันหาได้ยากในโลก พระสงฆ์ที่รู้พระไตรปิฎก ก็เป็นแก้วอันหาได้ยากในโลกเหมือนกัน ให้เจ้าประคุณพระราชาคณะทั้งปวงคิดถึงพระพุทธศาสนาให้จงหนัก เป็นพระพุทธศาสนาให้จงมาก"

พระราชดำรัสก่อนเสด็จสวรรคต แม้ปัจจุบันพุทธศักราช ๒๕๕๐ กาลเวลาจะล่วงแล้วถึง ๑๕๖ ปี พระราชดำรัสนั้นทำให้คนไทยซาบซึ้งในคำเตือนที่คงความถูกต้อง ด้วยชาวไทยในยุคปัจจุบันได้รับพิษภัยจากฝรั่ง โดยเฉพาะเป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ชาวไทยระทมทุกข์จำนวนมากประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ การถูกรุกรานทางวัฒนธรรมที่ทำให้ชาวไทยสูญเสียเอกสัญษณ์ของชาติไปหลายประการ ที่ว่า

"การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดไว้ ควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเสื่อมใสไปทีเดียว"

พระราชกรณียกิจสังเขป

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนเป็นล้นพ้นสุดที่จะพรรณนาได้ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น บ้านเมืองเริ่มเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศในยุโรปและอเมริกา แต่ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมลึกซึ้ง ได้ทรงผ่อนปรนมิให้กระทบกระเทือนทั้งผลประโยชน์ของประเทศและสัมพันธไมตรีระหว่างกัน นโยบายหลักนี้เป็นแนวทางที่พระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลต่อมาทรงยึดถือและเจริญรอยตาม เป็นผลให้ชาติไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้ตราบปัจจุบัน

ในส่วนความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองและประชาชนนั้น ได้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเศรษฐกิจของประเทศในรัชสมัยมั่งคั่งมั่นคงยิ่งกว่ายุคใดๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ทรงทำนุบำรุงการพาณิชย์ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกับประเทศจีนอย่างกว้างขวาง มีเรือสำเภาที่เป็นเรือสินค้าหลายร้อยลำส่งออกไปทั้งมลายู สิงคโปร์ และที่อื่นๆ รายได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นงบประมาณบำรุงแผ่นดินเต็มที่ ข้าราชการได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินเดือนเป็นครั้งแรก ทรงเพิ่มพูนรายได้ประเทศด้วยการปรับปรุงระบบการเก็บภาษีอากรทั้งภาษีอากรเก่าและใหม่สามารถเกื้อกูลการพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้ ทั้งการบูรณปฎิสังขรณ์พระอารามที่สร้างมาแล้วตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๑ และร่วงโรยไปตามกาลเวลา พระอารามใหม่ที่มีลักษณะศิลปกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีอยู่กว่า ๓๐ พระอารามล้วนงดงามวิจิตรเป็นศรีสง่าแก่พระนคร
ทรงสร้างพระคัมภีร์ไตรปิฎกอันเป็นหัวใจของการศึกษาพระธรรมบท กำหนดให้พระเปรียญนักธรรมสอบเพื่อส่งเสริมให้มีพระเถระที่ทรงคุณวุฒิสูง ประดับเป็นอาภรณ์แห่งพระพุทธศาสนาปรากฎว่า การพระศาสนารุ่งโรจน์แพร่ขยายไปสู่ดินแดนพระพุทธศาสนาในประเทศศรีสังกาด้วย

ทรงเล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นความเจริญของบ้านเมืองและประชาชน โปรดฯ ให้จารึกความรู้นานาชนิด ไว้ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทั้งวิชาวรรณคดี ตำรายา โหราศาสตร์ การช่าง ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาอย่างกว้างขวาง จนกล่าวกันว่าวัดโพธิ์คือมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

ในส่วนการธำรงรักษาความมั่นคงของประเทศนั้น ทรงยึดถือการรักษาศักดิ์ศรีของประเทศเป็นสำคัญ ไม่ยอมให้ชาติใดดูหมิ่นหยามเหยียดอันเป็นการเริ่มรุกรานอธิปไตยของไทย ดังนั้นพระองค์จึงทรงทุ่มเทป้องกันข้าศึก ที่แผ่อิทธิพลเข้ามาทำลายความสงบสุขภายในหัวเมืองในพระราชอาณาเขต ด้วยการส่งกองทัพไปปราบปราม ทำให้ข้าศึกระย่อหยุดยั้งลง การศึกแม้จะยืดเยื้ดเนิ่นนาน แต่ด้วยเหตุที่เศรษฐกิจในรัชสมัยได้จัดระเบียบไว้อย่างเรียบร้อย จึงมิได้กระทบกระเทือนสถานภาพการเงินของประเทศ

ทรงทำลายฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดร้ายแรงในสมัยนั้นให้หมดไปจากประเทศ เพื่อป้องกันพสกนิกรให้รอดพ้นจากหายนะ อันเป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติ น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยแผ่นดินล้นพ้นสุดที่จะคณานับได้ ทรงพระราชทานเสรีภาพให้หมู่พระบรมราชวงศ์ มุขอำมาตย์ ข้าราชการ เลือกสรรอัญเชิญผู้ที่เหมาะสมสืบราชสันตติวงศ์ ทรงจัดสรรพระราชทรัพย์พระราชทานไว้ทำนุบำรุงพระอารามที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ และพระราชทรัพย์ส่วนที่สำคัญที่สุดแก่ประเทศไทยคือ ส่วนที่พระราชทานไว้แก่แผ่นดินซึ่งเก็บรักษาไว้ในถุงแดงเป็นจำนวนสี่หมื่นชั่ง ได้นำมาเป็นค่าชดใช้แลกเปลี่ยนอธิปไตยของชาติ ในกรณีพิพาทดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสใน ร.ศ. ๑๑๒ อันเป็นวิกฤติการณ์ที่คับขันล่อแหลมในสมัยนั้นอย่างยิ่งยวด จึงไม่อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้ามิใช่พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระราชทรัพย์ไว้แล้วชาวไทยทั้งมวลจะภาคภูมิใจในความเป็นชาติเอกราชอย่างสง่าผ่าเผยเช่นปัจจุบันนี้ไ
ด้

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551






















Šพระราชประวัติของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก Š พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2352 ครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352) รัชกาลที่ 1 แห่งราชจักรีวงศ์ เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2279 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี") และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก"หรือ ดาวเรือง) ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคิณี พระอนุชาร่วมพระชนก ประกอบด้วย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (นามเดิมว่า สา) พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระเจ้ารามณรงค์ (บรรดาศักดิ์สมัยกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นที่ ขุนรามณรงค์) พระเชษฐา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (นามเดิมว่า แก้ว) พระเชษฐภคินีพระองค์น้อย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (นามเดิมว่า ทองด้วง)
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (นามเดิมว่า บุญมา) พระอนุชา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (นามเดิมว่า ลา) พระอนุชา ต่างพระชนนี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (นามเดิมว่า กุ) พระขนิษฐา ต่างพระชนนี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่
6 เมษายน พุทธศักราช 2325 (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช 1144) ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา